สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ และลูกค้า VTEN ทุกท่านที่แวะเวียนกันเข้ามาอ่าน บทความที่แอดมินกำลังจะเขียนนี้ คนที่เข้ามาดู แค่เห็นหัวข้อก็อาจจะออกจากหน้านี้เลยก็เป็นได้ เพราะบทความนี้ที่แอดมินจะมาเขียนคือ ปัญหาโลกแตกของคนสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น หรือ รองเท้ารัดส้นนั่นเองค่ะ ซึ่งความหมายในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าหัวข้อนี้สำหรับผู้หญิงใส่ส้นสูงอย่างเดียวนะคะ แอดมินเป็นคนนึงที่ไม่ใส่ส้นสูงเลย เพราะฉะนั้นบทความนี้จะไม่ได้จำกัดเพศนะคะ ^^* (บทความนี้เขียนจากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัวล้วนๆ มีข้อมูลอ้างอิงไม่ถึงครึ่งนะจ๊ะ ใครใคร่อ่านเข้ามาอ่านกันได้ ใครอ่านอยากแชร์มาแชร์กันได้เด้อ) * เอาล่ะ!!! รองเท้าหุ้มส้นตรงตัว เลือกเลยด้านล่าง
(ของผู้หญิงก็จะเยอะแยะโหน่ย) อันไหนหุ้มส้น หุ้มเท้า การันตีกัดเลยจ้า (อันนี้แล้วแต่สภาพเท้าบุคคลน้า) กรณีศึกษา [แอดมินเอง TT^TT] โดนมาทุกรูปแบบแล้วค่ะ เริ่มจากส้นสูง (มาตรฐานใส่รับปริญญาเด้อ) ขนาดใส่ถุงน่อง… อันที่จริงจะมีวิธีแก้แบบนึงคือการใส่ถุงเท้า หรืออะไรที่หุ้มส้น 1 รอบก่อนสวมรองเท้า ถามว่าวิธีนี้ใช้กับแอดมินได้ผลแค่ครึ่งวัน กรณีใส่เดินเต็มวัน สำหรับแอดมิน ถุงน่อง หรือ ถุงเท้าไม่ขาด แต่เนื้อบริเวณเอ็นหลังข้อเท้าถลอกปอกเปิกเสร็จสรรพแล้วจ้า~~~ TT0TT (*แต่เดี๋ยวจะมีข้อของถุงเท้าด้านล่างอีกรอบ เธอยังมีความหวังนะจ้า) จากประสบการณ์การใส่รองเท้าหุ้มส้น วัสดุที่หลังเท้าเคยสัมผัสผ้าแคนวาส หนังแท้ หนังเทียม ตาข่ายของรองเท้ากีฬา ซื้อรองเท้าทีไรโดนสรรพคุณใส่ไม่กัดจากหนังแท้ หรือ บางแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่งรองเท้าไม่กัดก็โดยสอยมาเหมือนกันค่ะ วันนี้ก็เลยมาขอแชร์ประสบการณ์แล้วกันเน๊อะว่า ณ ขณะนี้เรามีความคิดเห็นส่วนตัวยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้ วิธีแก้อันไหน เวิร์ค ไม่เวิร์คสำหรับเท้าแบบเรา (มันต้องมีบ้างแหละ เพื่อนร่วมทางไปกับเราที่ใส่ยังไง แก้ยังไงรองเท้าก็ยังกัดอยู่ดี) อันดับแรกเรามาดูเรื่องทฤษฎีคิดเองของแอดมินก่อนนะเด้อ 1. ส่วนใหญ่ที่รองเท้าจะกัดเนี่ย แอดมินเชื่อว่ามันคือรอยบริเวณเดียวกันแทบจะทุกคนที่ประสบปัญหา (อันนี้ยังไม่รวมแผลกัดบริเวณอื่นๆ อาทิ หน้าเท้า ด้านหัวของรองเท้า สันข้าง และนิ้วเท้านะฮะ ^^”)
คือ บริเวณเอ็นร้อยหวาย หรือ Achilles tendon ซึ่งเจ้าเนี่ยมันคือสิ่งที่ประคองและช่วยควบคุมการขยับเท้าไปมาของเรา เพราะฉะนั้นเมื่อรองเท้าที่ออกแบบขอบหลังมาตรงกับบริเวณแถวนี้เป๊ะ (ซึ่งก็แทบจะทุกแบบของหุ้มส้นนะฮะ) ผนวกกับทุกครั้งที่คุณเดิน บริเวณตำแหน่งเอ็นร้อยหวายก็จะยืดหดเข้าออก เปิดทางขอบรองเท้าก็ขยับตามจังหวะเดิน ขึ้นลงๆ ไปเรื่อย ก็เอา 2 คูณจำนวนก้าว ที่คุณเดินในวันนั้นไปเลยค่ะ จะเท่ากับจำนวนที่เสียดสีไปขณะเดิน นี่ยังไม่นับรวมตอนเราทำกิจกรรมอื่นๆและขยับเท้าไปมานะคะ [แอดมินบอกเลยว่า ขอชื่นชมข้อเท้าของเพื่อนๆทุกคนที่ประสบปัญหารองเท้ากัดเลยค่ะ TwT] (เอาหล่ะรื้อฟื้นความหลังเสร็จ ปาดน้ำตา 1 ทีแล้วกลับเข้าเรื่อง) วิธีแก้รองเท้ากัดต่างๆ (เท่าที่เคยได้ยินมา) 1. รองเท้ากัดให้กัดตอบ หรือ กัดก่อนที่รองเท้าจะกัด : เอาจริงๆมีใครเคยคิดจะกัดมั้ย (มือขวาตัวเองชูขึ้น = แอดมินเคย TTwTT/) แต่ยังไม่เคยลองนะคะ พอดีว่าเกิดเหตุการณ์เบิกเนตรก่อน 1 รอบกับรองเท้าหุ้มส้นคู่หนึ่ง (มันคือ classic sneaker ไร้เชือกผูกที่มาอยู่ในรูป slip on เด้อ) ทำจากผ้าแคนวาสแล้วกุ๊นครอบด้วยเทปกุ๊นคอตต้อนโทเร – ตอนซื้อมาใหม่ๆ ใส่ไป 3 รอบกัดทุกรอบ เผอิญว่า เป็นคนที่มีนิสัยเสียชอบเดินเหยียบส้น ก็คือ เมื่อรองเท้าคู่ไหนใส่ไม่สบายเมื่อไหร่ = เป็นอันเหยียบทันที (รองเท้าที่ซื้อมาทุกคือ ราคาเท่าไหร่ เมื่อมาอยู่ใต้เท้าเรา เท่าเทียมกันทู๊กกกกกราย XD ) และเป็นกับรองเท้าทุกประเภทที่สามารถเหยียบได้ (กับแบบที่เกือบจะเหยียบไม่ได้ก็ยังจะพยายามเหยียบจนมันเยิน) แล้วเหยียบได้แบบประเภทที่คนข้างตัวบอกว่าสงสารรองเท้า แหะๆ :p และแล้วเราก็เผลอไปเหยียบคู่นี้เข้าไปประมาณ 3 รอบ รอบที่ 7ที่กลับมาใส่ คู่นี้อีกครั้งแบบหุ้มส้น คราวนี้ส้นเยินเชียว เป็นรอยเส้นพับยับชัดมาก ถ้ามองจากด้านหลังจะยับและเยินมาก แต่ที่แน่ๆรองเท้าคู่นี้ไม่กัดแล้วโว้ววววว… จึงสันนิษฐานได้ว่า… เราจะไม่ขอเรียกว่าการกัดรองเท้านะคะ เพราะมันคือการที่ทำยังไงก็ได้ให้รองเท้าตรงช่วงบริเวณที่ต้องสัมผัสกับผิวเรา ทำยังไงก็ได้ให้วัสดุบริเวณนั้นนิ่มขึ้น ย้วยขึ้น เยินขึ้น คือทำยังไงก็ได้ให้มันหมดสภาพใหม่อ่ะ ซึ่งวิธีนี้เจ้าของจะต้องไม่ห่วงรูปลักษณ์หน้าตาของรองเท้าที่มันจะเปลี่ยนไปจากตอนมันเป็นของใหม่นะ <(=w=)” 2. การแปะกันกัดสำเร็จรูปที่หลังส้นด้านในรองเท้า : ความเห็นจากประสบการส่วนตัว ถ้าจะใช้ ต้องหาอันที่หนาๆๆๆ หน่อยนะคะ แบบบางไม่ช่วยเลยจริงๆ เพราะถ้าเท้ามันลงไปแล้ว นอกจากส้นสูง หรือรองเท้าหลวม เท้าทั้งหมดจะถูกดันมาด้านหลัง หรือแม้แต่รองเท้าหลวมเอง เมื่อเราเดินพฤติกรรมส่วนบุคคล จะต้องมีสักคนเนี่ยแหละที่ดันเท้ากลับไปหาด้านหุ้มส้น เพื่อประคองรองเท้าไม่ให้หลุดออกจากเท้าขณะอยู่ในจังหวะยกเท้าขึ้นเมื่อคุณก้าวเดิน เมื่อขอบสัมผัสข้อหลังเท่านั้นแหละ [เสียดสี = ถลอก = กัด คร๊าบบบ] เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้วิธีนี้ หาอันที่หนาๆเลยค่ะ เพราะมันจะช่วยยันข้อเท้าคุณออกไปจากขอบรองเท้าขณะเดินให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้3. โรยแป้ง เพื่อลดการเสียดสี เอาสั้นๆเลยโน๊ะ สำหรับเราไม่เวิร์คนะฮ๊า เพราะเราเป็นคนชอบใส่รองเท้ามีพื้นที่หายใจนิดนูงงง (โรยแป้งของเราโรยในถุงเท้าเอาไว้ดูดกลิ่นเท้าอย่างเดียว) 4. ใครบอกรองเท้าหนังแท้ไม่กัด [ป๋มโดนมาแล้ว TT^TT ทั้งแท้และเทียมเบย]5. ใช้เทียนไข วาสลีน ปิโตรเลียมเจล ถูและไถบริเวณขอบรองเท้า เพื่อให้มันลื่นขึ้นลดการเสียดสี [อันนี้ยังไม่เคยลอง ปกติเลยทำแต่เอาด้ายไปไสเทียนเพิ่มความลื่นแล้วมาเย็บหนังสือ] อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะคะ สมมติว่าเราเอาเทียนไข หรือวาสลีนไปทาบริเวณนี้ แต่แล้วถ้าขอบรองเท้ามันคม บางเกือบเท่ากระดาษ และทรงแข็งอยู่แล้วล่ะ จะยังช่วยอยู่มั้ยคะ เพราะตอนนี้เรายังมีความเชื่อต่อความรู้สึกที่ว่า ทุกครั้งที่เดิน ไม่ว่าจะไสเทียนให้ลื่นกี่รอบ ขอบคมๆมันก็ยังจะมาโกย มาค่อยๆเซาะหลังข้อเท้าเราให้ค่อยๆถลอกอยู่อ่ะ >>> ถ้าใครเคยลองแล้ว ได้ผลหรือไม่ ขอรบกวนมาแบ่งปันกันหน่อยนะเด้อ <<< เดี๋ยวมาต่อ part 2 นะฮ๊ะ รอบหน้าจะมีอีกนิดนุง แล้วจะมาบอก Life Hack ส่วนตัวผสมกับที่สอยเค้ามานะงับ ไม่รู้จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นเพียงแค่ความเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวเด้อ ถูกไม่ถูกก็ขออภัยด้วยนะค่า Credit รูปภาพ : alldaychic.com